จากดราม่าเรื่อง a day และ the standard สู่คำถามที่ว่าทำไมถึงทำ podcast
เห็นดราม่าเล็กๆ เกี่ยวกับ a day แล้วผมขำ เพราะมันไม่ใช่ครั้งแรกที่เจออะไรแบบนี้
ย้อนไปสมัย 20 ปีก่อน ตอนเขากำลังมาแรง ผมยังเรียนป.ตรี เลยไปซื้อหนังสือส่วนตัวของเขามาอ่าน คือนอกจากมันพยายามสร้างแรงบันดาลใจแล้ว มันมีบางส่วนที่ประดิษฐ์และเล่นคำจนผมไม่อิน เช่นคนไม่เรียนวิทย์และไม่เข้าใจมัน แต่พยายามเอา terms ของวิทยาศาสตร์มาอธิบายเล่นโวหาร มันไม่ใช่เว้ย มันมีคนเข้าใจและไม่อิน
วาร์ปมาหลายปี ตั้งแต่การขายบริษัทไปจนถึงการตั้งสื่อใหม่ the standard มันก็มี drama ด้วยนะ เลยเป็นเหตุผลที่ผมไม่ได้ใส่ใจ คือไม่สนใจติดตาม พอเห็นว่าพวกเขาปั้น podcast จนดัง ผมเลยลองฟังดู เพราะจะทำ podcast พอดี
แต่ผมไม่ได้ทำตามเขาแน่ๆ เพราะผมเคยทำมาก่อนตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว
พูดถึงเรื่องนี้แล้วขำ คือได้ฟังคนทำ podcast จนดังอยู่ 2 คน แต่ละคนจะพูดว่า “ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย podcast” “อัดเสียงยังไม่เป็น” แต่ทำออกมาดัง ผมนับถือพวกเขาในแง่นี้
เพราะตัวผมนี่รู้จัก podcast มาตั้งแต่ยุค ipod รุ่นแรก และฟังเยอะมากสมัยช่วงปี 2005 เป็นต้นมา หยุดฟังเพราะชอบอ่านหนังสือมากกว่า แต่ยังมีโปรแกรมที่ติดตามฟังเยอะอยู่ช่วงหนึ่งเช่น NHK World Japan ภาษาไทย
ตอนกลับมาฟังใหม่ เพราะเริ่มทำอีกครั้ง ตอนนี้เริ่มเจอ program ที่ชอบบ้าง เช่น the daily ของ NYT แต่ไม่มีของไทยนะครับ ไม่ได้อยากเป็นแบบพวกเขา 😆 (เลยไม่ดังซักที)
ถามทำไมถึงทำ podcast?
- เพราะมีเรื่องจะเล่า
- เพราะอยากให้คนรู้จักธุรกิจเยอะๆ
- เพราะมีเวลา เมื่อก่อนอยู่ไทย ทุกอย่างคืองานและเงิน จะเอาเวลาที่ไหนไปทำ
- เพราะเคยเป็นนักเขียน เขียนหนังสือให้คนอ่าน
- เพราะเคยเป็นครู ฝึกการพูดจนดีขึ้นมาหน่อย จากเดิม พูดเร็วมาก สมองไปไวกว่าปาก
- เพราะรู้จักเครื่องมือทาง audio engineering เยอะมาก ระดับเดียวกับที่เป็น broacast standard
- เพราะเริ่มแต่งเพลงใหม่ และอยากปล่อยผลงานไปร่วมกับ podcast
- เพราะอยากพิสูจน์ตัวเอง มาทำทีหลัง เงินทุนไม่มาก ความรู้ด้าน production เยอะจนแน่น แต่จะทำออกมาดังได้ไหม
โดยเฉพาะข้อ 8 อยากเป็นคนที่มีคนมาสัมภาษณ์แล้วเราตอบว่า “อ๋อ ผมรู้จัก podcast ตั้งแต่อินเตอร์เน็ตยังเป็น 2G และยังไม่มี YouTube” “ผมเข้าใจกระบวนการผลิตทั้งหมดเลยลองดูว่าเราจะทำจนดังไหม ขอบคุณที่ถามนะครับ 😆”
จากคนไม่แมส แต่อยากแมส