Podcast Note: มุมมองต่อ Cryptoassets ผ่านคนหลากหลาย Generations

มุมมองต่อ Cryptoassets ผ่านคนหลากหลาย Generations

เมื่อวานผมเป็น host จึงพยายามให้ผู้ร่วมรายการตอบก่อน สามารถฟังคำตอบย้อนหลังผ่าน Live

ทีนี้ถ้าต้องตอบเอง คำตอบจะตามนี้ครับ

Q: ช่วงโควิด รัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าระบบจำนวนมาก คนจำนวนหนึ่งเลยเอาส่วนเกินนี้ไปลงใน Crypto แต่ตอนนี้ พอรัฐบาลสหรัฐดึงเงินกลับ ค่าเงิน Crypto ร่วง ชาว Crypto  จะเอายังไงต่อ

A: Crypto เริ่มมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจตั้งแต่ตอน Wikileaks ใช้ขอรับบริจาค มาจนถึงกิจกรรมใต้ดินของ Silk Road มีการใช้งานจริง ๆ มาหลายปีแล้ว กรณี BTC สามารถดู Transaction แบบเวลาจริงได้ทันที นั่นหมายความว่าต่อให้ Counter Value มันลดลง แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ยังดำรงอยู่ คนที่เอาเงินมาลเพื่อหวังมูลค่าเพิ่มของมันเฉย ๆ อาจรู้สึกใจเสีย บางคนหมดตัว เพราะทุ่มเงินลงไปในสกุลที่ผิด เช่น LUNA แต่ชุมชนผู้ที่ใช้งานอยู่แล้ว หรือผู้ที่เข้ามาก่อนราคาจะร่วงล่าสุด ไม่มีปัญหาอะไรกับสิ่งนี้

Q: ผมไม่ชอบค่า Fee? 😆

A:ในฐานะที่ทำธุรกิจ ค่า Fee หรือค่าบริการเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ทั้งหมด ก่อนหน้าจะมี BTC ค่า Fee ของการโอนเงินระหว่างธนาคาร 35 บาท ธนาคารต่างประเทศผ่านระบบ Swipe 1200-1400 บาท ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำตอนนั้นยังไม่ถึง 300 บาท

แต่หลังจากการมี Crypto ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับค่า Fee เป็น 0 และสร้างระบบ Promptpay ส่วน Swipe เหลือราว 250-700 บาท ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของแต่ละธนาคาร นั่นหมายความว่าการมี Crypto ทำให้ Bank ต้องปรับตัวสู้

ในขณะที่ Fee ในระบบ Crypto มีความหลากหลาย ตั้งแต่ 0 บาทไปจนถึงหลักพันบาท กรณี BTC สมัยที่มูลค่าประมาณ 1.5 ล้าน ค่า Fee อยู่ที่ประมาณ 30-50 บาท โอนไปที่ไหนก็ได้ในโลก ทำให้เมื่อเทียบกับ Swipe ก็ยังถูกกว่าอยู่ดี  ยังไม่นับว่าสมัย 5-6 ปีที่แล้ว ถ้าต้องการใช้งานระบบ Swipe คุณต้องไปทำธุรกรรมที่สาขาก่อนบ่าย 3 ทั้งหมดนี้จะไม่ถูกเปลี่ยน ถ้าโลกนี้ไม่มีนวัตกรรมใหม่มาท้าทาย

Q: บริการของ Crypto มีอะไรบ้าง

A: ปัจจุบันมีการเทียบเคียงกับสถาบันการเงินในรูปแบบ Traditional เกือบหมด ตั้งแต่ฝาก ถอน โอน กู้ ไปจนถึงการเชื่อมกับบัตรจ่ายเงินเช่น Visa / Master กรณีตลาดแลกเปลี่ยนมีทั้งการซื้อขายแบบปกติและไม่ปกติ Decentralize และ Centralize

ส่วนในการเอา Blockchain ที่เป็นผลผลิตจากการสร้าง Bitcoin สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับสิ่งอื่น เช่นการเลือกตั้ง การติดตาม origin ของสิ่งของ ไปจนถึงการขายไฟล์ดิจิตอลที่ต้องการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ


คำตอบของคุณ Thainayu

อยากเสริมเรื่อง แชร์ลูกโซ่และ productivity

ผมเคยคุยกับคนที่ออกแนวอนาธิปไตย มีเรื่องนึงที่เห็นตรงกันคือ
สกุลเงินของรัฐ และประกันสังคม คือแชร์ลูกโซ่วงใหญ่ที่สุดแล้วครับ
และเป็นแชร์ลูกโซ่ที่บังคับให้คนรุ่นใหม่เกิดมาแบกมันด้วย
มันเลยสรุปกันได้ว่า จริงๆแล้วการเป็นแชร์ลูกโซ่เนี่ย คือถ้าล้ม มันก็จะเป็นแชร์ลูกโซ่ ถ้ามันอยู่ได้เกินสิบปียี่สิบปี มีคนมาทำกิจกรรมกับสกุลเงินนั้นๆ มีประโยชน์แก่คนหมู่มากมากกว่า มันก็จะไม่ใช่แชร์ลูกโซ่
อย่างธนาคาร ช่วงวิกฤติซับไพรม์ มันก็หลอกให้คนเอาเงินมาทุ่มกับกลไกซับไพรม์ของมัน เอาเงินต่อเงินไปเรื่อยๆเป็นฟองสบู่ ทำไมคนไม่มองมั่งว่าธนาคารเป็นแชร์ลูกโซ่
มันกลายเป็นว่าถ้ามีอำนาจ มีรัฐสนับสนุน มันก็จะไม่ใช่แชร์ลูกโซ่แค่นั้นเอง
ที่อยากจะพูดคือ บางทีเหรียญที่มันออกมา มันไม่ได้จงใจเป็นแชร์ลูกโซ่ในตัวมันเอง แต่พอกลไกมันไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย มันล้ม มันก็จะถูกมองเป็นแชร์ลูกโซ่
แต่บางเหรียญที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกคนจริงๆ อันนั้นก็คือตั้งใจมาเป็นแชร์ลูกโซ่ก็มีจริงอะนะ
ผมเลยไม่อยากให้มองว่าเหรียญที่ออกมามันเป็นแชร์ลูกโซ่นะ แต่อยากให้มองว่ามันตั้งใจทำอะไรมากกว่า แล้วสิ่งที่มันตั้งใจมันเป็นไปได้จริงแค่ไหน บางเหรียญมันตายไปเงียบๆเพราะคนไม่สนใจมัน ทั้งที่จริงๆมันมีหลักการ มีความน่าสนใจ แต่คนก็เอาแต่ไปเล็งเหรียญที่บอกว่าจะให้ผลตอบแทนเยอะๆ มันก็เหมือนพวกงานสบายรายได้ดีอะ
มีเรื่องอยากเสริมเรื่อง productivity อีกหน่อย แต่อันนี้น่าจะไปแตะ metaverse ละ เก็บไว้ก่อนละกัน

เรื่องพลังงาน กับ proof of stake ทำให้ผมนึกถึงอีกเรื่องว่า


ในระบบนี้ จริงๆเราอยากได้แค่ trust algorithm มากกว่า
คืออย่างที่พูดไปว่า proof of work ตอนนี้จริงๆก็คือ proof of stake แบบนึง ไม่ต่างกัน
ผมว่าสิ่งที่ algorithm มันขาดไปจริงๆ มันคือความ fair มากกว่าอะ
คือคนที่ขุดเหมือง จะสะสมเงิน เงินต่อเงิน ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะใช้ PoW หรือ PoS มันก็จะไปเข้า loop ปัญหาทุนนิยมเดิมๆ ว่าคนที่รวยก็จะยิ่งรวย คนที่จนก็จะยิ่งจน ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ
แล้วมันก็ถึงเป็น incentive ที่คนรวยก็ไม่เห็นต้องสนใจเรื่องความสะอาดของพลังงานหรือปัญหาสังคมอะไรเลย ต้องซื้อการ์ดจอแล้วเผาถ่านเพื่อขุดอย่างเดียวให้เร็วที่สุด แค่เพื่อให้คนสามารถโอนเงินหรือ Mint NFT ได้
ผมอยากให้มี algorithm ใหม่ อาจจะยังเป็น PoS อยู่อะนะ แต่ควรจะคิดเรื่องว่า อะไรที่เราสามารถ trust ได้ แบบ decentralize แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อโลก ให้มากขึ้น แทนที่จะ Trust แค่ทรัพยากรที่คนรวยสามารถหาได้

ผมเคยคิดคร่าวๆว่า อยากให้มี chain นึง ที่มี KYC สามารถตรวจสอบ identity ของ account ที่เข้ามาในระบบได้ว่าเป็น individual
แล้วจากนั้นก็ ทุกๆเดือน หรือทุกๆไตรมาส จะให้แต่ละคนมา sign ว่า จะสามารถฝาก trust ของตัวเองไว้ที่ใคร หรือองค์กรณ์ไหนก็ได้
แล้วองค์กรณ์นั้น ก็จะมีอำนาจในการทำ PoS ได้ตามจำนวน trust ที่ตัวเองมี คือยิ่งมี trust มาก ก็ยิ่งมี chance มาก เหมือน stake ปกติ แต่เป็น stake ที่ไม่ได้ใช้เงิน
องค์กรณ์นั้นก็จะได้ขุดหรือได้เก็บค่าธรรมเนียมไประยะนึง เป็น passive income แล้วทีนี้คนก็จะสามารถเอา trust ของตัวเองไปฝากไว้ที่องค์กรณ์หรือมูลนิธิอะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบ หรือแม้แต่ให้กับคนที่ตัวเองชอบก็ได้
คือคล้ายๆ fluid democracy อะ ว่าทุกคนควรจะมีอำนาจในมือ แล้วเลือกโหวตให้พรรคการเมืองที่ชอบเป็นตัวแทนตัวเองได้ มันจะแฟร์กว่า
แล้วมันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมด้วยว่า องค์กรณ์ที่คนเชื่อมั่น ไว้ใจมากๆ ก็จะเป็น prover ให้กับ transaction แต่ละวันๆของคนทั้งโลก โดยที่องค์กรณ์นั้นก็แค่ตั้งเครื่อง server มา sign transaction ไปวันๆ ไม่ต้องเสียเวลาขุดหรือเสียเวลาทำ algorithm อะไรยุ่งยาก และไม่ต้องมี institution หรืออะไรทั้งนั้น แม้แต่พรรคการเมืองตั้งใหม่อยากระดมทุนจากประชาชนรากหญ้าก็แค่ขอ trust มาซักสามเดือนหรือปีนึง ก็น่าจะสะสมเงินได้แล้ว

ความปลอดภัย privacy และ security


ผมมีความคิดนึงคือ แทนที่จะบอกว่า bitcoin จะไม่สามารถถูกควบคุมได้โดยใครเลย
ผมว่ามันควรจะเปลี่ยนความคิดมากกว่าว่า bitcoin ควรจะถูกควบคุมได้โดยมนุษยชาติ
คืออันนี้จริงๆมันทำได้ตลอดอยู่แล้วอะ ผมเคยเถียงกับคนบ่อยๆนะ ว่าจริงๆ bitcoin ไม่ใช่ไม่มีใครควบคุมได้ แต่คนที่จะควบคุมมันได้คือคนส่วนใหญ่ที่ใช้ bitcoin อะโดยเฉพาะพวก node
ซึ่งก็คือไอ้ 51% attack นี่แหละ ผมไม่มองว่ามันคือ attack นะ แต่ผมมองว่ามันคือช่องทางในการ regulate ว่าจริงๆเราควรมีอำนาจที่จะทำได้ทุกอย่าง ถ้ามี majority vote ของคนทั้งหมด
อย่างถามว่าเวลาทำอะไรพลาด เงินหาย จริงๆเรากู้คืนได้มั้ย ได้สิ ก็แค่ใช้ 51% ของ node ว่าตัดสินใจจะ roll back นะ
ถ้าทุกคนโอเคก็คือโอเคอะ ยิ่งถ้าเป็น smart contract เราสามารถเขียนไว้ใน contract ได้เลยว่า chain นี้ มีระบบ rollback ให้เรากู้คืนเงินได้ ถ้าหากมี process protocol บางอย่าง
อันนี้ไม่ได้พูดถึงเข้าใจว่าเพราะเวลาไม่พอ แต่จริงๆผมว่าเราน่าจะพูดถึง DAO ด้วยนะ ผมมองว่า SmartContract ที่สามารถเป็น DAO ได้เนี่ย มันสามารถที่จะพัฒนาไปอีกขั้นนึงให้กลายเป็นรัฐแบบ DAO ได้ด้วย คือมีอำนาจในการตัดสินใจได้เหมือนรัฐ แต่ต้องใช้ protocol บางอย่าง อย่างเช่นการโหวตจากทุกๆ account ที่มีเหรียญทั้งหมดในระบบให้ได้รวมกันมากกว่า 50% มากกว่า 2/3 4/5 แล้วจะตัดสินใจอะไรบางอย่างได้
และดีไม่ดีรัฐชาติหรือรัฐบาลโลกในอนาคตอาจจะมีหน้าตาแบบนี้เลยก็ได้