service charge ในร้านอาหารเมืองไทย ผู้ร้ายมีมากกว่า 1
ผมจำไม่ได้ชัด ว่ามันเริ่มเมื่อไร เพราะตอนที่เริ่มหาเงินได้ กินนอกบ้านบ่อยมันก็มีมาแล้ว
ถ้าให้เดา คงยุคปลาย 90s เช่นร้านอาหารญี่ปุ่นสัญชาติไทย F ยุคที่เริ่มมีตอนนั้นมีคนไม่พอใจกันเยอะ แต่ตอนนั้นอินเตอร์เน็ตมันเข้าไม่ถึงคนเยอะ และยังไม่มี social media
ตอนนั้นผมเดาว่า เพราะร้านอาหารต้องพยายามใส่ราคาที่ดูไม่แพงไป (เพราะแพงไปแล้ว) เลยต้องแยกออกมาเพื่อรอบวก service charge + vat ทั้งที่กฎหมายไทยระบุว่าผู้ขายต้องรวมราคาที่เป็น vat แล้ว แต่เทคนิคนี้ถูกใช้เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าราคามันแพงไป
คิดดูว่า 10% ของยอดแรก และ 7% ของทั้งหมด เท่ากับ 17.7% ของราคาที่แสดงให้เราเห็นในตอนแรก
ผ่านเวลามา 20 กว่าปีจากตอนนั้น หลายร้านๆ เริ่มใส่ให้ลูกค้าเห็นชัด ว่าต้องบวกเพิ่มทีหลัง ส่วนลูกค้าก็โดนเทรนมาให้รอจ่ายในราคา 17.7% ตามหลัง
แล้วผมยังเห็นคนมาทักว่าจะไม่จ่าย จริงๆ ผมเห็นใจทุกฝ่าย ตั้งแต่ลูกค้า ผู้ประกอบการ เพราะผู้ร้ายอีกสองตัวที่ลอยตัวเสมอ ไม่เคยโดนด่า คือเจ้าของที่ดิน (ห้าง) และสรรพากร
ราคาแพงเพราะ สิ่งที่คุณกินไปจ่าย 1000 บาท อาจมีค่าเช่าห้างแฝงอยู่ถึง 100-200 บาท (ขึ้นอยู่ว่าร้านนั้นขายดีขนาดไหน) ส่วนสรรพากรกินเงินเงียบ 7% ตลอด แต่ร้านอาหารนอกห้างที่เลี่ยงภาษีได้ ไม่ต้องจ่าย vat
เกิดเป็นความเหลี่ยมล้ำในทุกระดับ เงินภาษีไม่ใช่ว่าไม่อยากจ่าย แต่มันเอาไปให้ลุงให้พ่อคุณ (ที่ไม่ใช่ญาติ) เอาไปให้ลูกกระจ๊อกอีก นับ 3 ล้านคนในระบบ ไม่กลับมาหาประชาชนเท่าไร
ผู้ร้ายมีหลายตัวในนี้ อย่าด่าแต่ผู้ประกอบการ (ไม่ได้ห้ามไม่ให้ด่า) และผมหวังว่าจากนี้ไป ร้านจะแสดงราคาอาหารแบบสุทธิ หรือ net price ลงไปแทน เพราะลูกค้าชินกับพวกนี้แล้ว ถูกเทรนมา 20 ปีแล้ว
แล้วการที่มีคนไปกินร้านแล้วยอมเสียเวลาทะเลาะกับผู้จัดการร้านเพื่อเงินจำนวนไม่มาก ทำให้ผมรู้ว่าตอนนี้สภาพเศรษฐกิจไทยมันประมาณไทย เพราะพวกนี้ถ้าเศรษฐกิจดี จะไม่ได้ยินอะไรแบบนี้เท่าไรครับ