ผมเห็นคนส่วนใหญ่โฟกัสตามสื่อสหรัฐ คือโตโยต้าไทย ทำผิดจริงหรือไม่

ผมอยากชี้ให้เห็นภาพรวม คือมองวัฏจักร หรือ vicious cycle ว่ามันมาจุดนี้ได้อย่างไร?

  1. ต้องดูว่าโตโยต้านำเข้าอะหลั่ย หรือ Autoparts เหล่านั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ (ตามข่าวคือถูก เพราะผ่านมาได้แล้ว)
  2. แม้ว่าเขาจะเอาอะหลั่ยยกคันเข้ามา แล้วประกอบขายเป็นรถ การขายเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

คำถามที่สำคัญคือการที่โตโยต้าเอาอะหลั่ยที่นำมาประกอบเป็นรถได้ แล้วมันผิดกฎหมายข้อไหน? อันนี้ต้องดูข้อกฎหมาย เพราะความตั้งใจ เขาจะนำมาประกอบจนสำเร็จเป็นรถหรือไม่ อันนี้อีกเรื่อง

ทีนี้ตัดข้อกฎหมายทิ้ง เรามาดูวิธีคิดทางธุรกิจ

เหตุผลที่โตโยต้าไทย นำอะหลั่ยเข้ามาประกอบ แทนที่จะนำเข้ารถยกคัน ใครๆ ก็รู้ว่าเขาต้องการลดต้นทุนทางภาษี ที่จะทำให้สุดท้ายราคารถแพงจนขายไม่ออก แล้วก็เจ๊งกันไป คนเจ๊งคือผู้ประกอบการนะครับ รัฐได้ภาษีไปอิ่มแล้ว

อย่าลืมว่านี่คือบริษัทรถชั้นนำที่ขายไปทั่วโลก แล้วทำไมถึงมีปัญหาที่ประเทศเดียว ประเทศที่ได้ชื่อว่าผลิตรถยนต์ส่งออก

การหาช่องทาง เพื่อให้ต้นทุนถูก ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายในตัวเอง ตราบใดที่ช่องนั้นเปิดให้ทำ ยกตัวอย่างเจ้าสัวไทยหาช่องนำเข้ารถ EV จากจีนมาขาย โดยอาศัยช่องทางที่กฎหมายเอื้อให้เขาทำได้

พอโตโยต้าหาช่องนี้ได้ ผลิตขายไปหลายปี

ต่อมาโดนศุลกากรตรวจสอบ (สำหรับผู้นำเข้าท่านอื่น ศุลกากรสามารถตรวจย้อนหลังได้ถึง 10 ปีนะครับ) แล้วมันไม่ใช่ต้องจ่ายภาษีคืนอย่างเดียว ถ้าแพ้ ต้องจ่ายค่าปรับอีก ทำให้โตโยต้าเลยต้องสู้ทุกทาง ชนะศาลชั้นต้น แพ้ศาลอุธรณ์ เหลือศาลฎีกา

ถ้าคุณเป็นโตโยต้า คุณจะทำเช่นไรครับ?

รับผลที่ทำ แล้วยอมโดนปรับ? 🤔

เรื่องนี้ยังไม่จบนะครับ เพราะพอมีคนมาแฉ รูปเกมเลยเปลี่ยนไปอีก

เพราะสมมติผลออกมาโตโยต้าชนะที่ไทย ก็ยังดันมีผลนี้ไปที่สหรัฐอีก รวมไปถึงชื่อเสียงทั่วโลก

แล้วกลับไปที่ต้นเรื่อง คืออย่าเพิ่งโทษแต่โตโยต้าอย่างเดียว ถ้าคุณไม่ถามกลับไปที่ศุลกากรและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ใครเก่งข้อกฎหมาย รบกวนช่วยอัพเดทให้ผมทีนะครับ ผมพูดถึงโครงสร้างที่ก่อให้เกิด vicious circle นี้เท่านั้น เพราะเราจะไม่พิจารณาในมุมผู้ประกอบการไม่ได้เลย